-
Built to last องค์กรอมตะ
บังเอิญผมได้อ่านหนังสือ Good to great มาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งเป็นหนังสือที่ผมประทับใจมาก เลยค้นหาหนังสือที่เรียกได้ว่าเป็นปฐมบท ก่อนที่จะเกิดเป็น Good to great นั่นก็คือ หนังสือเล่มนี้ “Built to last” องค์กรอมตะ หนังสือเริ่มต้นจากแนวคิดที่ว่าต้องการค้นหาว่าบริษัทใดบ้างที่จะสามารถอยู่ยืนยง เรียกได้ว่า อมตะ เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ แม้จะถูกเขียนมาก่อน แต่จริงๆ แล้วมันควรจะเป็นภาคต่อของ Good to great ด้วยซ้ำครับ จากบริษัทที่ ดี เปลี่ยนเป็น ยิ่งใหญ่ และจากยิ่งใหญ่ จะอยู่ตลอดไปได้อย่างไร วิธีการวิจัยของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้ทำการรวบรวมรายชื่อของประธานบริษัทต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวนราวๆ 1700 บริษัท เพื่อทำการสอบถามว่าบริษัทใดบ้างที่จะอยู่ไปตลอด ไม่ล้มละลายไป โดยให้เสนอชื่อ (เหมือนการโหวต Ballon dor แหละครับ) ก็ได้มาประมาณ 20 บริษัท และได้ทำการศึกษาประวัติ และวิวัฒนาการความเป็นมาของบริษัทตั้งแต่เริ่มต้นด้วย เริ่มต้นกิจการอย่างไร ทำอย่างไรให้เติบโต ก้าวข้ามวิกฤติต่างๆ…
-
หนังสือ Good to great อ่านแล้ว เปิดกระโหลกมากๆ
หนังสือ Good to great โดย Jim Collins เป็นหนังสือที่เรียกได้ว่าสุดคลาสิก เพราะเนื้อหาในหนังสือนี้ ผมว่ายังคงนำมาปรับใช้ได้ในปัจจุบัน เรียกได้ว่า เหนือกาลเวลาจริงๆ หนังสือเริ่มจากการตั้งคำถามก่อนว่า บริษัทที่ดีทั่วๆ ไป มันมีปัจจัยอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่าที่จะทำให้ก้าวไปสู่บริษัทที่ยิ่งใหญ่ เป็นหนังสือที่ผมอ่านแล้ว รู้สึกสนุก รู้สึกอินกับเนื้อหามากๆ และเปิดกระโหลก รู้สึกเห็นด้วยในทุกประเด็นว่านี่แหละใช่เลย บริษัทที่จะก้าวมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ หรือ great company มันต้องแบบนี้แหละ อ่านไปก็มานั่งนึกย้อนไปว่าบริษัทที่เราเคยวิเคราะห์ ทั้งตัดสินใจลงทุน และไม่ได้ตัดสินใจลงทุน บริษัทไหนเข้าเกณฑ์ หรือไม่เข้าเกณฑ์ เดี๋ยวถ้าว่างๆ อาจจะมานั่งวิเคราะห์เป็นรายบริษัทว่า ที่ผ่านมา บริษัทไหนในไทยที่กลายมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ และยังคงรักษาความยิ่งใหญ่นี้ไว้ได้บ้าง น่าจะสนุกดีครับ ผู้เขียนใช้วิธีการคัดกรองบริษัทจากรายชื่อบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทในนิตยสาร Fortune โดยใช้เกณฑ์ว่ามีบริษัทใดบ้างที่ผลดำเนินงานไม่ได้โดดเด่นหรือมีปัญหาในอดีต และเมื่อผ่านจุดเปลี่ยนผ่าน ผลประกอบการเติบโต และมีผลตอบแทนราคาหุ้นสูงกว่าตลาด 3 เท่า ยาวนานเกิน 15 ปี ซึ่งคัดออกมาได้เหลือแค่ 11 บริษัทเท่านั้น ต่อมาจึงเลือกบริษัทมาเปรียบเทียบกับ 11…
-
สรุปหนังสือ The power of output
วันนี้ผมจะมาลองทำ output โดยการสรุปหนังสือ The power of output ให้เพื่อนๆ อ่านกันนะครับ หนังสือเล่มนี้ ทีเนื้อหาที่หลากหลายครอบคลุมในหลายๆ มิติมากๆ ครับ เรียกได้ว่า ใครที่อ่านก็จะสามารถหยิบเทคนิคต่างๆ ไปใช้ได้ ไม่มากก็น้อย โดยหลักๆ โครงสร้างของเนื้อหา จะเป็น หลักการที่สำคัญที่สุดที่หนังสือเล่มนี้ต้องการจะบอกคือ การทำ input เสร็จแล้ว ต้องทำ output ทันที และพอทำ output เสร็จก็หา feedback เพื่อปรับปรุง พัฒนา วนลูปไปเรื่อยๆ ให้เป็น “บันไดวนแห่งการพัฒนา” แล้วเราจะเป็นคนที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบครับ ประเด็นสำคัญครับ ผมขอแยกย่อยเป็น 2 ประเด็น คือ ดังนั้นการจะทำเกิดการพัฒนาได้ ต้องเกิดจากการ input แล้ว output ออกมา และได้รับ feedback ปรับปรุงพัฒนาวิธีการต่างๆ ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดการพัฒนาขึ้น แม้ทีละเล็กละน้อย…
-
สรุปหนังสือ The power of input
หนังสือ The power of input หรือในชื่อภาษาไทยคือ “ศิลปะของการเลือก + รับ * รู้” เป็นหนังสือภาคต่อจาก The power of output ของผู้เขียนซึ่งเป็นจิตแพทย์ชื่อ ชิออน คาบาซาวะ ผมอ่านครั้งแรกแล้วเหมือนเปิดโลกการอ่านของผมเลยจริงๆ ต้องขอบอกก่อนว่า ตัวผมเองนั้นเป็นนักซื้อหนังสือตัวยง แต่ไม่ค่อยจะได้อ่านกับเขาซักเท่าไหร่ ซื้อจนชนิดที่ว่าจำหนังสือตัวเองไม่ค่อยได้ และซื้อซ้ำอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเร็วๆ นี้ ผมเลยได้จัดทำฐานข้อมูลหนังสือที่ผมมี (ใช้ app ที่ชื่อว่า Handy library) ซึ่งตัวเลขจำนวนหนังสือทั้งหมดที่มีนั้น ทะลุพันเล่มไปเรียบร้อย!! (ชาตินี้จะอ่านหมดไหมเนี่ย ><) มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมมีแรงบันดาลใจ ในการเขียน Blog นี้ และผมตั้งใจว่าจะ input + output หนังสือทุกเล่มที่ผมอ่าน! หนังสือ The power of input นั้นชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญของการนำเข้าข้อมูลมาในหัวของเรา input อย่างไร…